วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
เป็นบทความที่นำเสนอการสอนแนะให้รู้คิด มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้และทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจและความแตกตางระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด ฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น และจะมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้นำและใช้คำถามเกิดการอภิปรายระหว่างผู้เรียนเท่านั้น เพื่อพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดของนักเรียน เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามมารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าเป็นครูผู้สอน ดิฉันจะใช้การสอนแบบเน้นผู้เรียนให้มีความคิด ความรู้ และทักษะไปพร้อมๆกัน เพื่อช่วยในการพัฒนาความคิด ความเข้าใจ เพราะคณิตศาสตร์จะมีบางเรื่องง่ายและบางเรื่องก็ยากดิฉันจึงจะใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจะเน้นเพื่อการปฏิบัติจริงเพื่อช่วยในการคุ้นเคยในการเรียนการสอน
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
ในฐานนะที่ได้เป็นครูในอนาคตรูปแบบในการเรียนการสอนของดิฉันจะมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นในทักษะการคิดของผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจและความแตกตางระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด ฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น และจะมุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม เพื่อช่วยในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาความเข้าใจทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดของนักเรียน เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามมารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

2.บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
บทความนี้จะกล่าวถึงความเป็นครูของพระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ ความเป็นครูของพระองค์คือ ประการแรก ทรงทำให้ดูพระองค์ได้เป็นครูที่พยายามจูงใจนักเรียนให้มาสนใจและเข้าใจด้วยตนเอง สอนให้รู้จักใช้พฤติกรรมในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ธรรมะของพระองค์คือความดี ความถูกต้องเป็นฐาน เป็นความเรียบง่ายที่เข้าถึงแก่นชีวิตและจิตใจ ทรงสอนอยู่ตลอดเวลา จะไม่บีบบังคับ ทรงสอนให้เราอย่าใช้อารมณ์เป็นเครื่องมือ ควรใช้ปัญญาและเหตุผลเป็นเครื่องนำทาง สอนให้ปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ อีกหลักหนึ่งที่สอนมาตลอดคือ ให้ยึดฐานเดิมของเราไว้ พระองค์จึงเป็น ครูของแผ่นดิน
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
            ถ้าได้เป็นครูผู้สอนดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ในกับการเรียนการสอนคือจะเป็นผู้ที่เน้นการศึกษาและผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังที่พระองค์ได้เป็นแบบอย่างคือได้ทำให้ดูเพื่อที่พยายามจูงใจผู้เรียนให้มาสนใจ และจะอยู่บนฐานความดี และความถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบปารเรียนการสอนที่ที่จำนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ในฐานะที่จะเป็นครูในอนาคตรูปแบบในการเรียนการสอนของดิฉัน จะเป็นรูปแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะเป็นครูสอนที่คอยชี้นำผู้เรียน คือ จะเป็นแบบอย่างที่ดี จะทำให้ผู้เรียนดูก่อนเพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจ และจะให้ความสำคัญกับการศึกษา และจะเป็นคนดี มีความถูกต้อง

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


1.สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับที่สอน
เรื่อง ลบเลขไม่ต้องยืม เทคนิคการแก้ปัญหาการลบเลข
ผู้สอน ผศ.ชัยศักดิ์ ชั่งใจ รร.สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
ระดับ ประถมศึกษา
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
ผศ. ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ได้เห็นว่า นักเรียนระดับชั้นประถมส่วนใหญ่จะมีปัญหาลบเลขผิดบ่อย ในการทำโจทย์คณิตศาสตร์ โดยส่วนมาก ถ้าเป็นโจทย์ที่ตัวตั้งมากกว่าตัวลบมักจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบแล้วต้องมีการยืม และบางครั้งเป็นการยืมหลายหน่วย นักเรียนจะสับสนหรือลืม ทำให้ได้คำตอบที่ผิด
ผศ.ชัยศักดิ์  จึงคิดวิธีการลบเลขแบบไม่ต้องยืมตัวทดขึ้นมา ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์คณิตศาสตร์ได้ง่ายขึ้น โดยนำไปถ่ายทอดให้แก่อาจาย์สอนคณิตศาสตร์หลายท่านได้นำไปทดลองใช้สอนนักเรียน และผลที่ได้คือ นักเรียนทำโจทย์ผิดน้อยลง สนุกกับการเรียนมากขึ้น
3. จัดกิจกรรมการสอน
           -     นักเรียนจำหลักการลบเลขโดยไม่ต้องยืมได้ โดยให้ฝึกฝนบ่อยๆ
-        สร้างทัศนะคติเชิงบวกต่อวิชานั้นๆแก่ผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนมีกำลังใจและเกิดความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้ ยกตัวอย่างเช่น ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เมื่อผู้เรียนไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาหรือทำผิดบ่อย ก็จะเกิดความไม่ชอบต่อวิชานี้ และนำไปสู่การปิดกั้นที่จะเรียนรู้หลักการอื่นๆในวิชานี้ต่อไป ครูผู้สอนนอกจากมีหน้าที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนแล้ว ยังต้องสามารถหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนด้วย ครูผู้สอนสามารถนำหลักการตามวิดีทัศน์นี้ประยุกต์ไปใช้สอนเรื่องการลบเลขให้กับนักเรียนได้เลย
-          ส่งเสริมให้ครูผู้สอนหาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดแก่ผู้เรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจกับเด็กได้ดี
มีการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อในการเรียนการสอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ
ได้ความรู้โดยตรงจากการฝึกทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อน ทำให้เด็กสนุกและเรียนรู้ได้เร็วยิ่งขึ้น





กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นาง กรองกาญจน์  ตุลโน ชื่อเล่น กรอง
ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 351 หมู่ 7 ตำบล ทุ่งนารี อำเภอ ป่าบอน จังหวัด พัทลุง
ประวัติการศึกษา
                จบ ป.6 จากโรงเรียนบ้านโล๊ะหาร
                จบ ม.6 จาก โรงเรียนรัตภูมิพิทยาคม
                จบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรจน์ ภาคใต้ (มหาวิทยาลัยทักษิณ)
                คณะ สังคมศาสตร์ (ศ.บ.)
                ปริญญาเอก ประวัติศาสตร์
                ปริญญาโท บริหารธุรกิจ
ประวัติการทำงาน
เริ่มรับบรรจุ วันที่ 5 กันยายน 2538 ที่โรงเรียนป่าบอนพิทยาคม จนถึงปัจจุบัน
                สอนในกลุ่มสาระสังคมศึกษา
สิ่งที่ดีนำมาใช้ในการพัฒนา
อาจารย์เป็นอาจารย์ที่สอนไม่เครียด สอนสนุก เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น ให้คำปรึกษา และคอยชี้แนะให้กับนักเรียนในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการเรียน เรื่องชีวิต เรื่องอนาคต   อาจารย์กรองกาญจน์  ตุลโน เป็นอาจารย์ที่สอนให้นักเรียนคิดเอง ทำเอง คือ จะสอนแล้วให้นักเรียนรับหัวข้อของเรื่องที่จะสอนไปศึกษา แล้วทำเป็นแผนการเรียนรู้ แล้วนำมาเสนอให้เพื่อนๆฟังในคาบต่อไป อาจารย์เป็นคนที่เข้านักเรียน เวลานักเรียนมีปัญหา ท่านจะเป็นคนที่รับฟังแล้วให้ข้อคิดที่ดีมาก สิ่งที่อาจารย์เป็นแบบอย่างก็ทำให้เรามีความคิดที่จะเป็นครูอย่างไรให้นักเรียนประทับใจเหมือนที่ดิฉันประทับใจในตัวอาจารย์

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  จะทำงานได้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้และสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและจะจำเป็นต้องกะทำด้วยสุจริตทั้งกายและใจ จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดหมายที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ทีม (Team) หมายถึง บุคคลที่ทำงานร่วมกันอย่างประสานงานภายในกลุ่ม เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ในการทำงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ การทำงานเป็นทีม” เป็นความร่วมมือร่วมใจของบุคคล เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
            1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
 2.แรงจูงใจของมนุษย์
 3.ธรรมชาติของมนุษย์
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพควรเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของ ธรรมชาติของมนุษย์
2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพนั้นเราควรมีความสามรถในการใช้วิชาความรู้และความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นและในการทำงานนั้นไม่ควรมีการแบ่งหน้าที่ไปด้วยตนเองเราควรปรึกษาหารือกัน เพราะเราจะได้รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น และได้เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด  เพื่องานจะได้ประสบความสำเร็จและทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ที่สำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง 





กิจกรรมที่ 3


1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
การจัดการเรียนการสอนในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 คงจะมีการเรียนรู้ที่คล้ายกันคือจะเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตอยู่รอด มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น เมื่อก่อนมนุษย์จะไม่รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเอง โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม ส่วนในปัจจุบันนี้การเรียนรู้คือชีวิต สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ การเรียนรู้จะมีทุกทีทุกแห่งหน การศึกษาจะเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถตัดสินใจด้วยตนเอง

2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
การจัดการเรียนรู้ในอนาคตครูที่ดีจะต้องเป็นครูที่มีความพร้อมอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นความพร้อมที่จะมาสอนหรือความพร้อมของเนื้อหาและในการจัดการเรียนรู้ควรจัดให้มีความหลากหลายเพราะผู้เรียนมีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นที่จะเรียนรู้ ในการเรียนควรจะใช้ระบบเครือข่ายเพื่อศึกษาสิ่งอื่นที่รอบด้านและเป็นคนที่ทันโลกอยู่ตลอดเวลา